Toxic Effect by Chainapa Lepajarn

Thu May 19 2022 at 06:00 pm to 08:00 pm

River City Bangkok | Bangkok

River City Bangkok
Publisher/HostRiver City Bangkok
Toxic Effect by Chainapa Lepajarn
Advertisement
“เมื่อเกิดความไม่สมหวัง
ภายในของข้าพเจ้าจะเอนเข้าหาพื้นที่ด้านลบ
ข้าพเจ้าพยายามแสดงออกโดยซ่อนความเป็นลบออกมา…
แต่เหตุซ้ำๆที่เกิดขึ้น ความคิดเห็นอันขัดแย้ง การถูกเอาเปรียบ
ทำให้ผลผลิตทางอารมณ์ภายในของข้าพเจ้าไม่สามารถเบิกบานได้ทั้งหมด”

ฉายณภา เลปาจารย์

นิทรรศการเดี่ยวโดย ฉายณภา เลปาจารย์ ประติมากรหญิงแกร่งระดับแนวหน้าของเมืองไทย ที่จะพาผู้ชมเข้าไปสำรวจภาวะภายในของ “เพศหญิง” ที่อยู่ในโลกที่ชายเป็นใหญ่ ซึ่งต้องเผชิญหน้ากับความอยุติธรรม การถูกเอารัดเอาเปรียบ การแบกรับแรงกดดันจากสังคมและครอบครัว จนความรู้สึกภายในของพวกเธอเต็มไปด้วยอารมณ์ด้านลบ ทั้งความโกรธเกรี้ยว ก้าวร้าว ประชดประชัน แต่ด้วยสถานะทางสังคมกลับบีบบังคับให้พวกเธอไม่สามารถ “พูด” และ “แสดงออก”ได้อย่างตรงไปตรงมา นานวันเข้าความขุ่นมัวทางอารมณ์ได้บ่มเพาะจนกลายเป็นพิษร้ายที่กัดกินตัวเธอเอง ซึ่งศิลปินเรียกภาวะนี้ว่า Toxic Effect
.
ฉายณภานับว่าเป็นประติมากรหญิงที่มีอยู่เพียงไม่กี่คนในเมืองไทย ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา เธอมักจะนำเสนอประเด็นการต่อสู้ของผู้หญิงในหลายแง่มุมผ่านงานประติมากรรม ซึ่งแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้ไม่ได้มาจากใคร นอกจากประสบการณ์ชีวิตของตัวเธอเอง ฉายณภาทำงานศิลปะเพื่อตอบสนองปูมหลังชีวิตที่ขาดหายไป และบอกเล่าความคิดและตัวตนของเธออย่างตรงไปตรงมา ซึ่งบางความคิดอาจจะไม่ได้ถูกต้องดีงามในสายตาคนทั่วไป และไม่อาจพูดออกมาได้ในชีวิตจริง เธอจึงเลือกที่จะสื่อสารผ่านงานประติมากรรมแทน
.
นิทรรศการ Toxic Effect นับว่าเป็นนิทรรศการเดี่ยวครั้งที่ 5 ของเธอ และเป็นนิทรรศการครั้งแรกที่ได้รวบรวมผลงานหลายยุคสมัยของเธอไว้มากที่สุดตั้งแต่ปี 2533 จนถึงผลงานใหม่ล่าสุดที่สร้างขึ้นในปี 2565 นิทรรศการนี้จึงเปรียบเสมือนไดอารี่ที่บันทึกชีวิตการต่อสู้ของเธอ ทั้งการต่อสู้กับสังคมภายนอก และต่อสู้กับภาวะภายในตนเอง เริ่มตั้งแต่เธอเป็นเด็ก ก้าวเข้าสู่วัยสาว และเข้าสู่วัยแม่ที่เต็มไปด้วยความรับผิดชอบต่อลูก และในวัยปัจจุบันที่ย่างเข้า 70 ปี แต่ยังทุ่มเทให้กับการทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่อง
.
แม้งานประติมากรรมบางชิ้นจะสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2533 ซึ่งบทบาทของผู้หญิงในยุคนั้นแตกต่างจากบทบาทของผู้หญิงในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้หญิงรับบทผู้นำทั้งในที่ทำงานและครอบครัว และมี “เสียง” ที่ดังขึ้นในสังคม แต่เรากล้าปฏิเสธหรือว่า ภาวะ Toxic Effect นี้จะไม่เกิดขึ้นกับผู้หญิงคนใดในยุคนี้เลย หรือแท้จริงแล้วพวกเธอแค่เก็บซ่อนภาวะนี้ไว้ได้แนบเนียนกว่าที่เคยเท่านั้น
.
ฉายณภาชวนให้คุณเข้ามาฟังเสียงกรีดร้องอันเงียบงันจากงานประติมากรรม ซึ่งกลั่นมาจากเลือดเนื้อ ชีวิต และจิตวิญญาณของเธอ ในฐานะของตัวแทนของผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งบางทีเสียงเหล่านี้อาจดังก้องเข้าไปในหัวใจของคุณ
.
เกี่ยวกับศิลปิน
ฉายณภา เลปาจารย์ (เกิดปี 2498) ประติมากรหญิงที่ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2521 ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโทในปี 2530 ผลงานของเธอนำเสนอแนวคิดการต่อสู้เพื่อผู้หญิง เริ่มจากชุด ตะวัน (ปี 2533 - 2539) ที่เสนอแนวคิดของผู้หญิงตะวันออกที่มีวัฒนธรรมนุ่มนวล แต่แฝงความอดทน ความมีศักดิ์ศรีภายใน คลื่นและลม (ปี 2539 - 2549) เปรียบเทียบปรากฏสึนามิ ทอร์นาโด กับเหตุการณ์อันเลวร้ายที่ผู้หญิงพบเจอ Uneven Life (ปี 2550 - 2556) นำเสนอทางเลือกในการดำเนินชีวิตของผู้หญิงที่มีขอบเขตจำกัด และ สตีภพ (ปี 2557 - 2562) ที่ตีแผ่ค่านิยม “ช้างเท้าหลัง” อันไม่เป็นธรรมต่อผู้หญิง ที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
เปิดให้เข้าชมฟรี วันที่ 19 พ.ค. (เวลา 18.00 น.) - 26 มิ.ย. ที่ RCB Galleria 4 ชั้น 2 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก
___________________
“When I fail to meet expectations,
my inner self gets into the realm of excessive negativity.
Trying to conceal my negative emotions,
I find those conflicts and exploitations
repeating and pushing my inner emotional states away from gaiety”
Chainapa Lepajarn
This is a solo exhibition by Chainapa Lepajarn, Thailand’s leading female sculptor whose works will delve you into a male-dominated world where women’s gender often encounters inequality, exploitation, pressure from society and their family. Negative emotions such as anger, aggression and sarcasm can drive them to their depth, but social status has repressed them not to “speak up” or “express” straightforwardly.
.
Consequently, women often suffer deeply into negative emotional states that become toxic to themselves which the artist called “Toxic Effect”.
.
Chainapa is among the few female sculptors in Thailand. Based on actual life experiences, her sculptures are thought-provoking to shed light on woman struggling for a myriad of aspects. She has worked to fulfill a missing piece of her life and provided her own insights outspokenly. Creating a sculpture is an alternative way of expression when some thoughts might be considered inappropriate for some people, and they cannot be addressed in real life.
.
Toxic Effect is her fifth solo exhibition, and it is regarded as her first retrospective showcase presenting the largest compilation of her works in multiple periods dating from 1990 to the latest ones in 2022. This is charted as an artistic diary of her tackling with the society and her inner self, starting from her childhood, youth, motherhood with great responsibility for her child to the present time. As she turns 70 years old, she still remains dedicated to her artistic career. Some of her works were created in 1990 when women’s roles were totally different from those in the 21st century. Nowadays women become leaders in workplaces and families. Women’s voices are heard louder in the society.
.
Nevertheless, it is undeniable that today’s women still have to cope with this so-called Toxic Effect, isn’t it? Or do they know how to keep it inside better than former times?
.
The artist is inviting you to listen to a silent scream expressed through her sculptures that she as a woman created with her own flesh and blood, life, and soul. Perhaps, you would feel an echo rambling in your heart.
.
About the artist
Chainapa Lepajarn (b.1955) is a female sculptor who has pursued her artistic passion since her Bachelor Degree from the Silpakorn University in 1978 and the Master Degree in 1987. Her works have embodied a concept of women’s fights starting from the collection The Sun (1990-1996), a depiction of a gentle Asian woman with integrity and patient character. Wave and Wind (1996-2006) is a metaphor of tsunami, tornado, and disasters that women have encountered. Uneven Life (2007-2013) presents an alternative way of living for restricted women. Sateephop (2014-2019) is about an unfair tradition that women are “the hind legs of the elephant” which still exists today.
On view from 19 May (at 6 PM) until 26 June in RCB Galleria 4 on 2nd floor of River City Bangkok. Free entry
#ToxicEffect #Sculpture #Rivercitybangkok #Rivercitycontemporary
Advertisement

Event Venue & Nearby Stays

River City Bangkok, ถนน โยธา, Bangkok, Thailand

Discover more events by tags:

Art in BangkokExhibitions in Bangkok

Sharing is Caring: